2566/06/15

หนึ่งโหลเกี่ยวกับ 'ห้อม' ... เอาไว้โม้ เวลาไปเที่ยวแพร่

พาลูกลิงไปเรียนรู้การย้อมผ้าด้วย 'ห้อม' ที่จังหวัดแพร่ มาครับ ... ประทับใจ กลับมาเลยไปค้นเรื่องราวเกี่ยวกับห้อม รวบรวมมาเขียนเก็บไว้ใน blog ตอนนี้ เผื่อใครหลงเข้ามาจะได้ทำความรู้จักห้อมและครามมากขึ้น อาจหลงรัก หรือจะเอาไว้เล่าเล่น ๆ เวลาเที่ยวแพร่ ก็ดีครับ

เพื่อกันความสับสน สีน้ำเงินเข้มที่ได้จากทั้งห้อมและคราม หรือพืชอื่น ๆ ในบทความนี้ผมจะเรียกรวม ๆ ว่า 'คราม' นะครับ

1. 'ห้อม' และ 'คราม' เป็นพืชคนละชนิดกัน 

ถึงจะให้สีน้ำเงินเข้มเหมือนกัน กรรมวิธีย้อมก็เป็นวิธีเดียวกัน แต่ห้อมเป็นพืชล้มลุกในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) วงศ์เดียวกับ 'ต้อยติ่ง' วัชพืชที่เราคุ้นเคย ชอบอากาศเย็น ขึ้นได้ดีตามหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางภาคเหนือ ส่วนครามนั้นเป็นพืชล้มลุกเหมือนกัน แต่อยู่ในตระกูลถั่ว (Leguminosae) ปลูกง่าย ชอบแดด ทนร้อน ทนแล้ง ทนดินเค็ม ปลูกได้ทั่วประเทศแต่นิยมปลูกในภาคอีสาน

2. นอกจากจะเป็นพืชที่ให้สีแล้ว ห้อมยังถือเป็นสมุนไพรอีกด้วย

รากและใบ ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะเนื่องจากหวัด ลดอาการอักเสบ เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ตาอักเสบ  แพทย์จีนทดลองให้คนไข้โรคเอดส์ที่เป็นงูสวัด ดื่มน้ำต้มใบแห้งผสมกับพืชอื่นอีก 3 ชนิด คือ Coptis chinensis, Arnebia euchroma และ Paeonia moutan พบว่า แผลหายภายใน 2 สัปดาห์

3. การสกัดสีครามออกมาใช้ประโยชน์นั้น ไม่ได้มีทำกันเฉพาะภาคเหนือและอีสานของเมืองไทยเท่านั้น

การใช้ครามเป็นวัฒนธรรมร่วมของมนุษยชาติ สืบต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่ยุคโบราณ และนิยมไปทั่วโลก จากญี่ปุ่นไปถึงตะวันออกกลาง จากอียิปต์ไปถึงไนจีเรีย ข้ามมหาสมุทรถึงอเมริกากลาง เชื่อกันว่าครามที่ดีที่สุดอยู่ที่อินเดีย พวกฝรั่งยุโรปเลยเรียกครามว่า 'อินดิโก้' (Indigo) ... แล้วก็พัฒนาจากครามสดเป็นครามสังเคราะห์ กลายเป็นสีมาตรฐานในกางเกงยีนส์ทุกวันนี้

4. ครามเป็นสีธรรมชาติสีแรก ๆ ที่มนุษย์เอามาใช้ประโยชน์ 

มีการค้นพบหลักฐานการใช้ครามตามแหล่งอารยธรรมโบราณมากมาย เช่น ที่จีน อายุ 3,000 ปี ... ที่อียิปต์เก่ากว่า 4,500 ปี ... แต่ผ้าย้อมครามที่เก่าแก่ที่สุดบนตัวมัมมี่ที่เปรู อายุเก่ากว่า 6,000 ปี

5. ที่จริงแล้วน้ำหมักใบห้อมมีสีเขียวอมเหลือง ผ้าที่ย้อมด้วยห้อมและครามนั้น จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินก็ต่อเมื่อโดนอากาศ กระบวนการนี้เรียกว่าการ 'ออกซิเดชั่น'

สีครามธรรมชาติจะอยู่ในรูปของสารที่เรียกว่า อินดิแคน (indican) เป็นสารไม่มีสีและไม่ละลายน้ำ วิธีสกัดครามออกมาใช้ ต้องนำใบพืชที่มีสารอินดิแคนมาผ่านกระบวนการ Hydrolysis ซึ่งคือการแช่น้ำทิ้งไว้จนโมเลกุลของอินดิแคนย่อยสลายกลายเป็น อินดอกซิล (Indoxyl) ล่องลอยอยู่ในน้ำ ซึ่งอินดอกซิลนี้ เกิดออกซิเดชั่นได้ง่าย เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นสีคราม (indigo)

6. การย้อมด้วยสีธรรมชาติส่วนใหญ่จะเป็นการย้อมร้อน แต่การย้อมด้วยห้อมและครามเป็นการย้อมแบบเย็น 

อินดิแคนนอกจากจะไม่ละลายน้ำแล้ว ยังไม่ละลายในความร้อนอีก การนำครามหรือห้อมไปต้มให้สีออกจึงไม่จำเป็น

7. ครามสามารถนำมาย้อมเส้นใยได้หลายชนิด ทั้งเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ แต่ฝ้ายเป็นวัสดุที่ย้อมครามติดได้ดีที่สุด

8. เพราะขั้นตอนการสกัดครามออกมาใช้ย้อมผ้านั้น ละเอียดอ่อนมากต้องรักษาค่าความเป็นกรดด่างให้พอเหมาะ ต้องทำให้เกิดการออกซิเดชั่นอย่างสม่ำเสมอ เลยมีความเชื่อกันว่าครามมีชีวิต

ขั้นตอนการทำครามเริ่มจาก นำกิ่งและใบของพืชที่ให้สีครามมาแช่น้ำไว้ข้ามวันให้เปื่อย แล้วเอากากออก เติมปูนขาวแล้วตีจนน้ำในหม้อเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ตีน้ำคราม (กวนคราม) ให้เกิดฟองมาก ๆ 15 - 30 นาที แล้วพักไว้อีกคืน ครามจะตกตะกอนปนกับปูนขาว เทของเหลวใสสีน้ำตาลชั้นบนทิ้ง จะได้เนื้อครามลักษณะเป็นโคลนสีน้ำเงินเข้มตกตะกอนอยู่ก้นหม้อ ... เวลาจะย้อมก็ นำเนื้อครามออกมาผสมกับขี้เถ้า พักน้ำครามไว้ภาชนะที่เย็นและมิดชิด ตักน้ำครามดูทุกวัน วันละ 2 ครั้งเช้า - เย็น เมื่อน้ำครามให้สีเขียวอมเหลืองจึงจะย้อมได้

9. ครามเป็นสีธรรมชาติที่มีคนนำมาทำลวดลายบนผ้าด้วยเทคนิคและกลวิธีหลากหลายที่สุด

ตั้งแต่การย้อม ไม่ว่าจะเป็น มัดย้อม, มัดหมี่, บาติก, พิมพ์ลายลงบนผ้า ไปจนถึงการเพ้นท์ ระบายลงบนผ้าโดยตรง

10. ไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ของชาวไร่ ชาวนา แต่เป็นชุดทำงานกลางแจ้งที่เพอร์เฟค

นอกจากความเรียบง่ายและราคาถูกแล้ว คุณประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ คือ ผ้าที่ย้อมด้วยครามมีองค์ประกอบช่วยป้องกันรังสี UV และไม่มีกลิ่นอับชื้น ยิ่งโดนแดดยิ่งหอม จึงเหมาะสมมากสำหรับเอามาทำชุดทำงานกลางแจ้ง ทั้งเสื้อหม้อห้อม ชุดชาวประมงที่เจนัว รวมไปถึงผ้ายีนส์ของคนงานเหมืองที่อเมริกา ก็ใช้ครามย้อม (2 อันหลังเป็นครามสังเคราะห์)

11. หม้อห้อมที่ทุ่งโฮ้ง

เสื้อหม้อห้อมเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มที่จังหวัดแพร่ เนื่องจากพวกลาวพวนที่อพยพเข้าไปอยู่ที่ทุ่งโฮ้งเมืองแพร่ได้เย็บเสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีครามดำออกจำหน่ายแก่คนงานและลูกจ้างทำป่าไม้ขึ้นก่อน จึงได้รับความนิยมซื้อสวมใส่กันแพร่หลาย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2496 นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ได้จัดงานเลี้ยงอาหารแบบขันโตกเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ์และกงสุลอเมริกัน ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้กำหนดให้ผู้มาร่วมงานสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม ย้อมสีคราม คาดผ้าขาวม้า หลังจากงานนี้จึงมีผู้นิยมใช้เสื้อหม้อห้อมกันแพร่หลายยิ่งขึ้น คนทั่วไปจึงคิดว่าเป็นเสื้อประเพณีนิยมสำหรับชายชาวล้านนา

 

12. ม่อฮ่อม หรือ หม้อห้อม

ม่อฮ่อม เป็นคำ 2 คำมารวมกัน 'ม่อ' เป็นการออกเสียงแบบคนเหนือมาจากคำว่า  'มอ' ที่หมายถึง สีมืด สีทึม สีมอ ๆ ... ส่วน 'ฮ่อม' ก็เป็นชื่อพืชที่นำมาย้อม ... เสื้อม่อฮ่อมก็คือ เสื้อสีมอ ๆ ที่ย้อมด้วยฮ่อม ส่วนที่เขียนว่า 'หม้อห้อม' นั้นเป็นการปรับวรรณยุคให้ตรงกับเสียงตามหลักภาษาศาสตร์ และเพื่อกันความสับสนกับหม้อที่หมายถึงภาชนะ ราชบัณฑิตยสถานจึงให้อธิบายต่อท้ายคำนิยามเดิมของคำ ม่อฮ่อม (ซึ่งแก้ไขการเขียนคำตั้งใหม่เป็น หม้อห้อม) ว่า “เขียนเป็น ม่อห้อม หรือม่อฮ่อม ก็มี” ... (อันนี้เขียนไปเขียนมาจะเข้าใจหรืองงกว่าเก่า ก็คงเป็นเรื่องของ ราชบัณฑิตยสถาน เขาหละครับ)

จบแล้วครับ ^^" ... ถ้าใครอ่านแล้วอยากจะลองย้อมผ้าด้วยห้อม อยากเห็นต้นห้อมตัวเป็น ๆ หรืออยากเห็นตอนห้อมมันเปลี่ยนสี ... หรือแค่อยากมีเสื้อมัดย้อมลายสวย ๆ ก็เชิญที่บ้านป้าเหงี่ยมที่ทุ่งโฮ้งได้เลยครับ

2563/06/24

ไม่มีรูป

ดูเสร็จแล้วประมาณบ่าย 3 โมง

จากวัดบ้านยางไปออกอำเภอบรบือได้ไม่ยาก

แล้วจากบรบือก็ใช้ทางหลวงหมายเลข 23

กลับมหาสารคามได้เลย ไม่ต้องย้อนไปย้อนมา

แล้วจากบรบือก็ใช้ทางหลวงหมายเลข 23
กลับมหาสารคามได้เลย ไม่ต้องย้อนไปย้อนมา

ถึงมหาสารคามแล้วก็ พักผ่อนตามอัธยาศัยตัวใครตัวมัน พรุ่งนี้ค่อยกลับกรุงเทพฯ เป็นอันปิดทริป ลายแทงสิมอีสาน แค่นี้ (´∀`)

มื่อเป็นเรื่องของสุขภาพ ใครๆ ต่างก็ต้องการข้อมูลใหม่ล่าสุดที่เชื่อถือได้ ดูข้อมูลล่าสุดและคำตอบสำหรับคำถามที่คุณอาจสงสัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) เมื่อเป็นเรื่องของสุขภาพ ใครๆ ต่างก็ต้องการข้อมูลใหม่ล่าสุดที่เชื่อถือได้ ดูข้อมูลล่าสุดและคำตอบสำหรับคำถามที่คุณอาจสงสัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)

เมื่อเป็นเรื่องของสุขภาพ ใครๆ ต่างก็ต้องการข้อมูลใหม่ล่าสุดที่เชื่อถือได้ ดูข้อมูลล่าสุดและคำตอบสำหรับคำถามที่คุณอาจสงสัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)

อิหยังวะ

คงเป็นเรื่องแปลก ถ้ามาถึงอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามแล้วไม่แวะนมัสการพระธาตุนาดูน ... ที่แปลกกว่าคือ แทนที่จะมาตอนเช้าแดดอ่อนๆ หรือบ่ายแก่ๆ รอให้แดดร่มลมตกก่อน เรากลับกล้าท้าทายพระอาทิตย์ มาซะเที่ยง ... ที่แปลกที่สุดคือ ถึงแม้จะเป็นช่วงพระอาทิตย์ตรงหัว แดดเปรี้ยง ลานรอบเจดีย์ร้อนระอุระดับกระทะเทปัน แต่พุทธศาสนิกชนผู้ไม่กลัวแดดก็ยังหลั่งไหลมานมัสการพระธาตุ มากมาย ไม่ขาดสาย

มีสิมี

อุโบสถวัดเขาสามแก้ว

ผมคุ้นชื่อวัดสามแก้วจากหนังสือเกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมหลายเล่ม และมักจะเห็นรูปวาดฝีมือ พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) พร้อมกับคำบรรยายใต้ภาพบอกสถานที่ว่า เป็นที่อุโบสถวัดสามแก้ว เห็นแล้วก็เริ่มสนใจ ยิ่งมารู้ว่าอุโบสถวัดสามแก้วเป็นโบสถ์ทรงแปลก ไม่มีช่อฟ้า ไม่มีใบระกา หลังคาแบน ๆ แล้วยังอยู่ในจังหวัดที่คุ้นเคยอย่างชุมพรอีก ไม่น่าพลาด เลยต้องหาโอกาสลงไปชมให้เห็นกับตา


วัดสามแก้วอยู่บนเนินเขาสามแก้ว ริมทางรถไฟ ก่อนถึงสถานนีชุมพรนิดหน่อย (ในระยะที่เดินถึง แต่เหนื่อยหน่อย) เป็นวัดบรรยากาศดี สงบ ร่มรื่นอารมณ์คล้าย ๆ โรงเรียนหรือสถานที่ราชการ ตามแบบวัดธรรมยุตินิกายทั่วไป ... ในประวัติบอกว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2468 โดยพระธรรมโกษาจารย์ (เซุ่ง อุตตโม) กับหลวงศรีสุพรรณดิฐ (เผียน ชุมวรฐายี) นายอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร พร้อมด้วยชาวบ้าน ได้เริ่มถางป่าอันรกร้างและได้สร้างที่อยู่ชั่วคราวสำหรับพระสงฆ์และสามเณร จัดให้พระสงฆ์ได้อยู่จำพรรษาหลังจากนั้นมีการสร้างอุโบสถ เสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตามมา


ก่อนจะไปดูโบสถ์ ดูจิตรกรรมฝาผนัง ก็ต้องทำความเข้าใจกับคำว่า "สยามไหม่" เสียก่อน จะได้เข้าใจที่มาที่ไป

"สยามใหม่" ที่ว่าก็คือค่านิยมที่ชนชั้นนำไทยใช้ผลักดันสังคม ในช่วงปลายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ... แนวคิดหลักคือ ฟื้นฟูและนำ "ความเป็นไทย" เข้าสู่ความศิวิไลซ์ให้ไม่น้อยหน้าชาติตะวันตก ความเชื่อจากอดีตตามจารีต เรื่องชาติ ภพ บุญบารมี นรก สวรรค์ ในแบบไตรภูมิถูกมองว่าเป็นเรื่องงมงายล้าสมัย และหันมาให้ความสำคัญกับความเป็นเหตุเป็นผล ตามแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ ... สิ่งเหล่านี้มักสะท้อนให้เห็นได้ ผ่านศิลปะและสถาปัตยกรรมในยุคนั้น


อุโบสถวัดสามแก้วเป็นแบบผสมผสาน รูปทรงคล้ายศาลาการเปรียญที่วัดราชาธิวาสย่อส่วน โครงสร้างทั้งเสาและคาน รวมถึงหลังคาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบนราบ ไม่มีหน้าบัน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา เป็นแผ่นคอนกรีตแบน ๆ แล้วก็มีส่วนที่ยื่นออกมาเป็นกันสาด รองรับด้วยคันทวยที่หลังคากันสาดทั้ง 2 ชั้น

ตัวอาคารมีการประดับลวดลายไทย (แบบลดทอนรายละเอียด) ที่กรอบประตูและหน้าต่าง ไม่ใช่ปูนปั้นที่ทำทีละชิ้น แต่เป็นการทำพิมพ์แล้วหล่อชิ้นงานทั้งหมดเหมือน ๆ กัน แล้วเอามาแปะติดที่ตัวอาคาร

บริเวณรอบนอกตัวอาคารสร้างเป็นกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ล้อมรอบเป็นรั้ว โดยมีหลักเสมาหิน (ก้อนหินจริง ๆ ไม่มีการแกะสลัก) ล้อมรอบทั้ง 8 ทิศ

อุโบสถวัดเขาสามแก้วด้านหน้า
อุโบสถด้านหน้า
อุโบสถวัดเขาสามแก้วด้านหลัง
ด้านหลัง
ยกใต้ถุนสูงขึ้นมาจากพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร
ลวดลายประดับแบบเรียบง่าย และคันทวยรูปหงส์ที่รองรับหลังคา
เสมาที่เป็นก้อนหินแท้ ๆ ฝังไว้บอกเขตสังฆกรรม

เห็นได้ว่ารูปแบบของอุโบสถวัดสามแก้ว เป็นแนวคิดของอาคารสมัยใหม่ที่ลดทอนรายละเอียดและการประดับประดาลง ให้เรียบง่าย มีเท่าที่จำเป็น นอกจากนั้นยังมีการปรับให้เข้ากับภูมิอากาศในประเทศไทยอีก เห็นได้จาก มีกันสาดไว้กันฝน มีใต้ถุน มีช่องลม ไว้กันแมลงรบกวนและระบายความร้อน แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้อาจจะมองได้ว่า เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกฝืดเคือง (ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2) เลยต้องสร้างแบบประหยัดและรอบคอบ

สิ่งที่ทำให้แน่ใจว่า พระธรรมโกษาจารย์ (เซ่ง อุตตโม) ต้องการให้อุโบสถนี้เป็นศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความเป็นไทยสมัยใหม่อย่างแน่นอน คือ  ท่านได้ชักชวน พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ซึ่งถนัดการใช้เทคนิคสีน้ำมันแนวเหมือนจริงแบบตะวันตก มาวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ... สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จากพระพูทธเจ้าที่เป็นรูปสมมุติแสดงความเป็นพุทธะในอุดมคติ ก็กลายเป็นพระพุทธเจ้าในฐานะบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นมนุษย์ธรรมดา มีเลือด มีเนื้อหนังเหมือนเราท่านทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องใหม่

แต่อย่างไรก็ตามการจัดองค์ประกอบและลำดับของภาพก็ยังแบ่งเป็น 3 ชั้น ตามแบบประเพณีนิยม  ด้านบนสุดเป็นท้องฟ้า เทวดาและนางฟ้า  ถัดลงมาเป็นเทพชุมนุม มีเทพแปลก ๆ ที่ไม่ค่อยเห็นที่อื่น ซึ่งผมเข้าใจว่ามาจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6  ทั้งนั้น เช่น ปรศุราม, นรสิงห์ ฯลฯ  ด้านล่างระหว่างช่องหน้าต่างและบานประตูวาดเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่มาจากบทพาหุง (พุทธชัยมงคล 8) พื้นที่บนเพดาน ถูกวาดด้วยลวดลายดาวเพดานตามคติประเพณี ส่วนพื้นที่บริเวณโครงสร้างเสาและคานตกแต่งด้วยลายไทย

พระพุทธเจ้า แบบมีเนื้อมีหนัง
ภานในอุโบสถ เห็นได้ว่า แบ่งภาพเขียนเป็น 3 ชั้น
ภาพเทพชุมนุม เป็นเทพในพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 แทบทั้งนั้น

บทพาหุง หรือ พระพุทธชัยมงคลคาถา เรียกอีกอย่างว่า "คำถวายพรพระ" นอกจากจะใช้สวดสรรเสริญชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มาร แล้วยังเป็นบทสวดเกี่ยวกับชัยชนะเพื่อถวายพระพรแด่พระเจ้าอยู่หัวให้ทรงชนะศึกอีกด้วย

จากบันทึกที่เขียนไว้บนผนังหลังพระประธานกล่าวว่าภาพจิตรกรรมที่วาดขึ้นโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกรนี้ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ภายหลังจากพระองค์ได้ทรงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2468 ความว่า

“มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) รับช่วยพระวโรดม แต่เมื่อยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมโกษา จารย์ เขียนภาพนี้ขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2471 ลงมือร่างและเขียนด้วยความพยายาม มิได้คิดถึงความยากลำบาก เมื่อ มีธุระจำเป็นก็กลับกรุงเทพฯ ครั้นยามว่างจึงออกมาเขียน ถึงเดือนสิงหาคม 2473 การเขียนภาพจึงแล้วบริบูรณ์ และมิได้ คิดมูลค่า เพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนา อุทิศถวายแด่สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ภาพจิตรกรรมที่แสดงเนื้อเรื่องบทพาหุงในอุโบสถวัดสามแก้วส่วนหนึ่ง (ที่เหลือให้ไปตามดูเอาเอง เอ้ย!... จริง ๆ แล้วถ่ายมาไม่ครบหนะครับ เพราะตอนที่ไปยังไม่แน่ใจเรื่องคาถาพาหุง แหะ ๆ ^^")

ภาพพระแม่ธรณี ฝีมือพระยาอนุศาสน์จิตรกร
ตอน พระแม่ธรณีขับไล่พญามาร
ตอน พระพุทธเจ้าโปรดอาฬวกยักษ์
ตอน โปรดช้างนาฬาคีรี
ตอน ชนะนางจิญจมาณวิกา
ตอน พระพุทธเจ้าทรงชนะสัจจกนิครนถ์
ภาพพระโมคัลลานะปราบนันโทปนันทนาคราช ผีมือพระยาอนุศาสน์จิตรกร
ตอน พระโมคัลลานะปราบนันโทปนันทนาคราช
ตอน โปรดท้าวพกาพรหม

ที่เหลือคือภาพพุทธประวัติตอนอื่น ๆ เช่น ตอนบำเพ็ญทุกข์กิริยา, ตอนรับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา,  ตอนแสดงธรรมแก่ปัจจวัคคีย์, ตอนทรงชนะธิดาพญามาร เป็นต้น นอกจากพุทธประวัติแล้วก็มีนิทานอีสปแทรกอยู่ตามช่องเล็ก ๆ (เอามาให้ดูพอเป็นน้ำจิ้มนะครับ)

ตอนแสดงธรรมแก่ปัจจวัคคีย์
ภาพพระพระพุทธเจ้าผจญธิดาพญามาร
ตอนทรงชนะธิดาพญามาร
ธิดาพญามาร ขาวอวบน่าหลงไหลไม่ใช่น้อย อิอิ
ท้าวพกาพรหมยามหมดอาลัยตายอยาก (ถ้าไม่เชี่ยวชาญเรื่อง Anatomy ก็คงวาดคนนั่งท่านี้ลำบาก)
ผมชอบความสงบร่มรื่นของวัดสามแก้วนี้ ชอบความผสมผสานของศิลปกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ชอบที่มันยังไม่กลมกลืนกันดี มองเห็นที่มาของแนวคิดได้ชัดเจน เหมือนกับข้าวยำที่ยังไม่ได้คลุก หน้าตาดีดูสนุกกว่าอันที่คลุกแล้วเป็นไหน ๆ ; )

อยู่มาวันวัน




คงเป็นเรื่องแปลก ถ้ามาถึงอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามแล้วไม่แวะนมัสการพระธาตุนาดูน ... ที่แปลกกว่าคือ แทนที่จะมาตอนเช้าแดดอ่อนๆ หรือบ่ายแก่ๆ รอให้แดดร่มลมตกก่อน เรากลับกล้าท้าทายพระอาทิตย์ มาซะเที่ยง ... ที่แปลกที่สุดคือ ถึงแม้จะเป็นช่วงพระอาทิตย์ตรงหัว แดดเปรี้ยง ลานรอบเจดีย์ร้อนระอุระดับกระทะเทปัน แต่พุทธศาสนิกชนผู้ไม่กลัวแดดก็ยังหลั่งไหลมานมัสการพระธาตุ มากมาย ไม่ขาดสาย


จากวัดโพธารามผมแวะไหว้พระธาตุนาดูน โดยหวังว่าไหว้เสร็จแล้วอาจเข้าพิพิธภัณฑ์ดูโน่น ดูนี่ ใช้เวลานานสักหน่อย เพราะรอบๆ บริเวณพระธาตุมีที่น่าสนใจหลายที่ แต่แดดเที่ยงวันแรงจนท้อ ลูกลิงก็เริ่มป่วยเพราะโดนแดดแรงๆ สะสมมาตั้งแต่เช้า เลยตัดสินใจรีบไหว้แล้วขึ้นรถ แวะกินอาหารตามสั่ง ง่ายๆ แต่อร่อยที่ครัวนาดูน หายเหนื่อยแล้วเดินทางต่อเลย